ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เทศบาลตำบลป่าป้อง                               วิสัยทัศน์ "เป็นตำบลน่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักธรรมาภิบาล"                               เทศบาลตำบลป่าป้อง โทรศัพท์ 053-484-843, 093-187-9111 โทรสาร 053-484843
 ข้อมูลเทศบาล

นายสมบูรณ์ ริญญา

นายกเทศมนตรีตำบลป่าป้อง
โทรศัพท์: 08 9851 1575

msgQ&A/สายตรงนายก

นางกัลยา  มีรักษ์ - ปลัดเทศบาลตำบลป่าป้อง             โทรศัพท์ : 08 6916 7493

นางกัลยา มีรักษ์

ปลัดเทศบาลตำบลป่าป้อง โทรศัพท์ : 08 6916 7493


hornข่าวประชาสัมพันธ์

ประขาสัมพันธ์การชำระภาษี ประจำปี 2558

  • 1 ธันวาคม 2558
  • อ่าน 140 ครั้ง

การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน,ภาษีป้าย และภาษีบำรุงท้องที่
 การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน,ภาษีป้าย และภาษีบำรุงท้องที่

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

     ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนกับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนนั้น ๆ และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างนั้น

โรงเรือน หมายถึง บ้าน ตึกแถว ร้านค้า สำนักงาน ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน อพาร์ทเม้นท์ สนามมวย คลังสินค้า ฯลฯ

สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หมายถึง ท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ คานเรือ ซึ่งมีลักษณะการก่อสร้าง ติดกับที่ดินเป็นการถาวร

ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หมายถึง ที่ดิน ซึ่งปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ และบริเวณต่อเนื่องกัน ซึ่งตามปกติใช้ไปด้วยกันกับโรงเรือน

- ผู้มีหน้าที่เสียภาษี หมายถึง ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน


ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน

     1. เจ้าของทรัพย์สิน(ผู้รับประเมิน) จะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี(ภ.ร.ด.2) ณ งานจัดเก็บรายได้ ฝ่ายผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์ ส่วนพัฒนารายได้ สำนักการคลัง เทศบาลนครแหลมฉบัง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี(ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการมีความผิดโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี)

     2. เมื่อผู้รับประเมินได้รับใบแจ้งการประเมินภาษี(แบบ ภ.ร.ด.8) จะต้องชำระค่าภาษีภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งค่าภาษี


อัตราค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ผู้รับประเมินจะต้องเสียค่าภาษีในอัตราร้อยละ 2.5 ของค่ารายปี(ค่าเช่า)


การไม่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนดเวลา

      กรณีผู้รับประเมินไม่ชำระค่าภาษีภายใน 30 วันนับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งประเมินค่าภาษีจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกดังนี้


ถ้าค้างชำระไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษี

ถ้าค้างชำระเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษี

ถ้าค้างชำระเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษี

ถ้าค้างชำระเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษี


     ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2543 มาตรา 44 กำหนดว่า ถ้ามิได้มีการชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มภายในสี่เดือนให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือ ให้ยึด อายัด หรือขายทอดตลาด ทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระค่าภาษีเพื่อนำเงินมาชำระเป็นค่าภาษีเงินเพิ่ม


การยื่นอุทธรณ์

     เมื่อผู้รับการประเมินได้รับใบแจ้งการประเมินค่าภาษีแล้ว ไม่พอใจในการประเมินค่าภาษี ให้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินค่าภาษีใหม่ ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษี(ภ.ร.ด.8)


***การแจ้งห้องว่างและพื้นที่ที่ไม่ใช้ประโยชน์ ให้แจ้งภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน ณ งานธุรการ สำนักการคลัง***


 

ภาษีป้าย

     เป็นภาษีจัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้า หรือโฆษณาหารายได้ไม่ว่าจะแสดงไว้ที่วัตถุใด หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นใด

ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย

     1.เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายื่นแบบตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ถ้าไม่สามารถหาตัวเจ้าของได้ ให้ผู้ครอบครองอาคารหรือเจ้าของที่ดินที่ป้ายน้ำตั้งอยู่เป็ฯผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี

     2.ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ได้รัแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่

     3.ถ้าภาษีป้ายตั้งแต่ 3000 ทขึ้นไป สามารถผ่อนผันชำระเป็นสามงวดได้


อัตราค่าภาษีป้าย

ภาษีป้ายประเภท

ข้อความป้ายที่มี

อัตราภาษี

1

อักษรไทย

3 บาท/500 ตร.ซม.

2

อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือกปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น

20 บาท/500 ตร.ซม.

3

(ก) ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่

(ข) มีอักษรไทย บางส่วนหรือทั้งหมด อยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

40 บาท/500 ตร.ซม.

***หมายเหตุ ป้ายตามประเภท 1,2 หรือ 3 เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตรที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้าย 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท


การไม่ชำระค่าภาษีภายในกำหนดเวลา

     1.ไม่ยื่นแบบภายในเดือนมีนาคมหรือหลังติดตั้งป้าย 15 วัน เสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษี

     2.ยื่นแบบไม่ถูกต้องค่าภาษีน้อยลงเสียเพิ่ม 10% ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม

     3.ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งประเมิน เสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของค่าภาษี


การยื่นอุทธรณ์

     ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้ว ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรมแบบ ภ.ป.4 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

ภาษีบำรุงท้องที่

ภาษีบำรุงท้องที่

เป็นภาษีที่จัดเก็บจาก “ที่ดิน” ซึ่งหมายถึงพื้นที่ดิน พื้นที่ที่เป็นภูเขา


ขั้นตอนการชำระภาษีบำรุงท้องที่

      เจ้าของที่ดินซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน(ภ.บ.ท.5) ภายในเดือนมกราคมของปีแรก ที่มีการตีราคาปานกลางที่ดิน(ทุกรอบ 4 ปี) ณ งานจัดเก็บรายได้ ฝ่ายผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์ ส่วนพัฒนารายได้ สำนักการคลัง


ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ภายในวันที่ 30 เมษายนของทุกปี


การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนดเวลาผู้มีหน้าที่เสียภาษี

     1.กรณีไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของจำนวนเงินค่าภาษี

     2.กรณีไม่ชำระค่าภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินค่าภาษี เศษของเดือนนับเป็นหนึ่งเดือน


การยื่นอุทธรณ์

     ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ได้รับแจ้งการประเมินแล้ว ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ ภ.บ.ท.9 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

***กรณีที่บุคคลได้เป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่ จำนวนเนื้อที่ดินเดิมเปลี่ยนแปลงไปให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดินภายใน 30 วัน นับจากวันที่เป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่ หรือ จำนวนเนื้อที่ดินได้มีการเปลี่ยนแปลง***


เอกสารหลักฐานที่ต้องนำมาติดต่อกรณีมาชำระภาษีท้องถิ่น

     1.สำเนาบัตรประชาชน + ทะเบียนบ้าน

     2.สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร(กรณีเป็นนิติบุคคล)

     3.สัญญาเช่า

     4.สำเนาหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน (นส.3 , นส.3ก),โฉนดที่ดิน, สัญญาซื้อขาย)

     5.สำเนาใบขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร

     6.หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10.- บาท(กรณีมอบอำนาจ)


เอกสารหลักฐานที่ต้องนำมาติดต่อกรณีชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร

     1.สำเนาฉบับเดิม ก่อนการแบ่งแยก(ถ้ามี) หรือ

     2.สำเนาใบเสร็จรับเงิน ภาษีบำรุงท้องที่หรือภาษีโรงเรือนและที่ดินปีสุดท้าย


เอกสารหลักฐานที่ต้องนำมาติดต่อชำระค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอย

     1. สำเนาใบเสร็จรับเงิน (ครั้งสุดท้าย)

***หมายเหตุ สำหรับผู้ประกอบการซึ่งยกเลิกกิจการให้แจ้งเทศบาลภายใน 15 วัน นับจากวันยกเลิกกิจการ





แชร์หน้านี้: