ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เทศบาลตำบลป่าป้อง                               วิสัยทัศน์ "เป็นตำบลน่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักธรรมาภิบาล"                               เทศบาลตำบลป่าป้อง โทรศัพท์ 053-484-843, 093-187-9111 โทรสาร 053-484843
 ข้อมูลเทศบาล

นายสมบูรณ์ ริญญา

นายกเทศมนตรีตำบลป่าป้อง
โทรศัพท์: 08 9851 1575

msgQ&A/สายตรงนายก

นางกัลยา  มีรักษ์ - ปลัดเทศบาลตำบลป่าป้อง             โทรศัพท์ : 08 6916 7493

นางกัลยา มีรักษ์

ปลัดเทศบาลตำบลป่าป้อง โทรศัพท์ : 08 6916 7493


hornข่าวกิจกรรม

ประชุมคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลตำบลป่าป้อง ร่วมกับประชาคมท้องถิ่น (ประชาคมระดับตำบล) เพื่อพิจารณาร่างแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) เปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 1/2567

  • 20 กุมภาพันธ์ 2567
  • อ่าน 156 ครั้ง

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เทศบาลตำบลป่าป้อง ดำเนินการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลตำบลป่าป้อง ร่วมกับประชาคมท้องถิ่น (ประชาคมระดับตำบล) เพื่อพิจารณาร่างแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) เปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 1/2567 โดยมีประเด็นจากการประชุม ดังนี้

1.ประเด็นการมีส่วนร่วม

       การประชุมคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลตําบลป่าป้อง เพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566- 2567) ร่วมกับประชาคมท้องถิ่น (ประชาคมระดับตำบล)

2. สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

     2.1 คณะกรรมการพัฒนาเทศบาล จำนวน 20 คน

     2.2 ประชาคมท้องถิ่น (ประชาคมระดับตำบล) จำนวน 25 คน ประกอบไปด้วย สมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 11 คน , กำนัน ? ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน   8  คน , ผู้แทนจากส่วนราชการ  จำนวน 3 คน , ผู้แทนจากกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน  2  คนและผู้แทนจากกลุ่มอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน 1 คน โดยมีผู้ส่วนร่วมจะร่วมประชุมพิจารณาเปลี่ยนแปลงแผนแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566- 2567) เพื่อให้แผนมีความสอดคล้องกับบริบทในสภาพปัจจุบัน

3. ผลจากการมีส่วนร่วม

     ดําเนินการประชุมเปลี่ยนแปลง แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2566-2570 ตามที่คณะกรรมการฯ เพื่อให้แผนมีความสอดคล้องกับบริบทของการดำเนินการในปัจจุบันและสามารถการแก่ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามวัตถุประสงค์

4. การนําผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดําเนินงาน

    4.1 เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันที่มีความชัดเจน และลดปัญหาความยุ่งยากซับซัอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

    4.2 ทําให้เกิดการยอมรับแนวความคิดใหม่ๆ เข้ามาในองค์กร และสร้างความยอมรับเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

    4.3 ประชาชนได้ร่วมพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการดําเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    4.3 ส่งผลให้การดําเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้



แชร์หน้านี้: