นางกัลยา มีรักษ์
ปลัดเทศบาลตำบลป่าป้อง โทรศัพท์ : 08 6916 7493
ข่าวประชาสัมพันธ์
CBD โรคเรื้อรัง ที่ไม่ควรปล่อยให้เป็นปัญหาเรื้อรัง
- 10 สิงหาคม 2565
- อ่าน 114 ครั้ง
จากการศึกษาพบว่า 1 ใน 3 ของคนทั่วโลกต่าง ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยเรื้อรังที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโรคเรื้อรังนับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตลำดับต้น ๆ โดยคิดเป็นอัตราส่วนประมาณ 63% ของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ โรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่โรคเรื้อรังเหล่านี้เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งพัฒนาการของโรคจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ แต่ค่อย ๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคเกิดขึ้นแล้ว ก็มักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย นอกจากนี้เมื่อคนไข้มีอาการป่วยเรื้อรัง แล้วก็มักจะนำไปสู่อาการข้างเคียงอื่นๆ ในผู้ป่วยบางรายอาจได้รับความทรมานจากความเจ็บป่วยเรื้อรังมากกว่า 1 โรค และหากคุณมีอาการป่วยเรื้อรังก็จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณควรจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจอาการของคุณ และพร้อมช่วยคุณป้องกันไม่ให้อาการลุกลามไปสู่อาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังมักมีอาการของโรคดังต่อไปนี้
โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่เกิดจากไขมันและเนื้อเยื่อสะสมในผนังของหลอดเลือด ทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในตำแหน่งนั้นหนาตัวขึ้น หลอดเลือดจึงมีการตีบแคบลง ทำให้เลือดทำหน้าที่นำออกซิเจนไหลผ่านได้น้อยลง ส่งผลให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งมักจะทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้น และหากเกิดการอุดตันของหลอดเลือดเฉียบพลัน (มักเกิดจากคราบไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นใน) เมื่อคราบไขมันนั้นจับตัวกับเลือดและแตกออกแล้วกลายเป็นลิ่มเลือดก็จะส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอันนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หรือเสียชีวิตกะทันหันได้ โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคที่อาจเป็นผลจากปัจจัยทางพันธุกรรม การดำเนินชีวิต ซึ่งโภชนการก็ยังมีผลต่อการพัฒนาของโรคอีกด้วย
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เป็นภาวะเรื้อรังของการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของกระบวนการสร้างอินซูลิน หรือของการทำงานของอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดเพื่อแปลงสภาพเป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมากและเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อมสมรรถภาพ จนเกิดโรคและอาการแทรกซ้อน เช่น โรคไต โรคสายตา การบาดเจ็บของเส้นประสาท ปัญหาของเท้า และอื่น ๆ ทั้งนี้โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 เป็นชนิดพึ่งอินซูลิน (IDDM) อาการของโรคจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน เบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี (โดยเฉลี่ยที่อายุประมาณ 14ปี) และเบาหวานชนิดที่ 2 คือชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน (NIDDM) มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะความดันโลหิตซึ่งมีระดับสูงเรื้อรัง โดยความดันโลหิต คือค่าที่ประเมินจากความดันที่ต้านอยู่ภายในหลอดเลือดในระหว่างกระบวนการไหลเวียนโลหิต ภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรังอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองแตก นอกจากนี้ น้ำหนัก ไลฟ์สไตล์ และโภชนาการต่างก็มีส่วนกระตุ้นอาการเจ็บป่วยของโรคความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน
โรคไขมันในเลือดสูง
โรคที่มีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าค่าปกติ รวมถึงการมีระดับคลอเลสเตอรอลสูงกว่าปกติ ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงมีผลทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ หรืออุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และอาการหัวใจวาย โรคไขมันในเลือดสูงมักเป็นผลที่เกิดจากการดำเนินชีวิตและโภชนาการที่ไม่เหมาะสม
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
หากหัวใจของคุณเต้นผิดจังหวะ (หรือเต้นในรูปแบบที่ผิดปกติ) เราจะเรียกอาการนี้ว่า อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องภายในหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วหรือช้าเกินไปทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผิดปกติไปด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน การหายใจขาดเป็นช่วง อาการเจ็บหน้าอก และอาจหมดสติได้หากอาการรุนแรง อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจเกี่ยวพันกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือโภชนาการและไลฟ์สไตล์